กรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ กรมควบคุมมลพิษ, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจ หรือหน่วยงาน ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันแบบจําลองธุรกิจ “พลอยได้..พาสุข” การสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์จากของเหลืออุตสาหกรรม ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 700,000 บาท พร้อมโอกาสได้รับคำแนะนำจากโค้ชมืออาชีพ
คุุณสมบัติของผู้เข้าแข่งขัน
- บุคคลธรรมดา หรือ กลุ่มบุคคลที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ มากกว่ากึ่งหนึ่ง หรือ
- วิสาหกิจชุมชน หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่จดทะเบียนที่มีหนังสือรับรองจากท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการในเขตพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือ
- นิติบุุคคล (บริษัทจํากัด / ห้างหุ้นส่่วนจํากัด / ห้างหุ้นส่่วนสามัญนิติบุุคคล) ที่่มีทุุนจดทะเบีียนไม่เกิน 5,000,000 บาท ไม่ว่าทุุนนั้้นจะเรียกชําระเต็มแล้วหรือไม่ ที่่ดําเนินการในเขตพื้้นที่่พัฒนาอุุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
หมายเหตุ ทางผู้ดําเนินการแข่งขันขอสงวนสิทธิ์และตัดสิทธิ์ผู้สมัครที่ไม่เข้าเงื่อนไขของผู้สมัคร
คุุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่่เข้าแข่งขัน
ผลิตภัณฑ์ทําจากหรือใช้วัตถุดิบที่เป็นของเหลือจากภาคอุตสาหกรรม เช่น กากของเสีย (Waste) หรือ วัสดุพลอยได้ (By-products) โดยรูปแบบอาจเป็นผลิตภัณฑ์เดี่ยว (Stand-alone) หรือ ชุดผลิตภัณฑ์ (Series) หรืออยู่ในขั้นตอนการการพัฒนาผลิตภัณฑ์
พื้นที่ซึ่งประกาศให้เป็นเขตพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
- เขตพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 1 (18 พื้นที่ 15 จังหวัด)
- เทศบาลตํา บลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ
- เทศบาลนครอ้อมน้อย จังหวัดสมุทรสาคร
- ตําบลวังดาล ตําบลนนทรี ตําบลนาแขม และ ตําบลกบินทร์ อําเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
- เขตผังเมืองรวมอ้อมใหญ่ ประกอบด้วย ตําบลบางกระทึก ตําบลกระทุ่มล้ม ตําบลไร่ขิง ตําบลท่าตลาด ตําบลยายชา ตําบลท่าข้าม ตําบลอ้อมใหญ่ และตําบลบ้านใหม่ อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- ตําบลบางกะดี อําเภอเมือง และตําบลคูบางหลวง ตําบลลาดหลุมแก้ว ตําบลคูขวาง ตําบลระแหง ตําบลหน้าไม้ อําเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
- ตําบลตะพง ตําบลบ้านแลง และตําบลเชิงเนิน อําเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง และเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด ประกอบด้วย ตําบลมาบตาพุด ตําบลเนินพระ ตําบลห้วยโป่ง ตําบลทับมา อําเภอเมือง ตําบลมาบข่า อําเภอนิคมพัฒนา ตําบลบ้านฉาง อําเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
- ตําบลแปลงยาว และตําบลหัวสําโรง อําเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา
- เทศบาลนครแหลมฉบัง และเทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อํา เภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
- อําเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ตําบลหน้าพระลาน อําเภอเฉลิมพระเกียรติ และ ตําบลเขาวง อําเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
- ตําบลสีคิ้ว ตําบลลาดบัวขาว ตําบลมิตรภาพ ตําบลกุดน้อย และตําบลหนองหญ้าขาว อําเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา
- เทศบาลตําบลน้้ําพอง เทศบาลตําบลลําน้ำพอง เทศบาลตําบลม่่วงหวาน และเทศบาลตําบลกุุดน้้ําใส อําเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
- เทศบาลเมืองบ้านโป่ง เทศบาลเมืองท่าผา เทศบาลตําบลเบิกไพร ตําบลปากแรต อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
- ตําบลท่าโรงช้าง ตําบลท่าสะท้อน ตําบลเขาหัวควาย และตําบลบางมะเดื่อ อําเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- ตํ บลสะเดา ตําบลปริก ตําบลพังลา ตําบลสํานักแต้ว ตําบลสํานักขาม ตําบลปาดังเบซาร์ อําเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
อ้างอิง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกํา หนดพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและมาตรการสนับสนุนการประกอบการกิจการโรงงาน ในพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ พ.ศ. 2561. 2562. 1 4. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 3 ง หน้า 35-37
- เขตพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 (15 พื้นที่ 15 จังหวัด)
- ตําบลหนองละลอก อําเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
- ตําบลเขาซก อําเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี
- ตําบลท่าสะอ้าน อําเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ตําบลโคกขาม อําเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร
- ตําบลขุนแก้ว อําเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
- ตําบลกรับใหญ่ อําเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
- ตําบลบึงยี่โถ อําเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
- ตําบลท่าตูม ตําบลศรีมหาโพธิ ตําบลหนองโพรง ตําบลหัวหว้า อําเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
- ตําบลบ้านหว้า อําเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
- ตําบลหนองปลิง อําเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี
- ตําบลนากลาง อําเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
- ตําบลคําป่าหลาย ตําบลบางทรายใหญ่ อําเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
- ตําบลห้วยโจด อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
- ตําบลแม่กาษา อําเภอแม่สอด จังหวัดตาก
- ตําบลคลองใหญ่ อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด
อ้างอิง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกํา หนดพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 2 พ.ศ. 2564. 7 11 65. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 262 ง หน้า 16-17
- เขตพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3 (21 พื้นที่ 20 จังหวัด)
- ตําบลเวียงชัย และตําบลผางาม อําเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย
- ตําบลแม่แฝก อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
- ตําบลบ้านกลาง อําเภอเมืองลําพูน จังหวัดลําพูน
- ตําบลแม่เมาะ อําเภอแม่เมาะ จังหวัดลําปาง
- ตําบลดอนทอง และ ตําบลบ้านป่า อําเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
- ตําบลคลองขลุง และ ตําบลแม่ลาด อําเภอตลองขุลง จังหวัดกําแพงเพชร
- ตําบลหนองโพ อําเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
- ตําบลหนองมะค่าโมง อําเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
- ตํายลวังศาลา อําเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
- ตําบลช่องสาริกา อําเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
- ตําบลปะโค อําเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
- ตําบลโคกสะอาด อําเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
- ตําบลหินเหล็กไป อําเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
- ตําบลทุ่งเทิง และ ตําบลนากระแซง อําเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
- ตําบลชะอํา อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี
- อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ตําบลนากระตาม อําเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
- ตําบลที่วัง อําเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- ตําบลเขาพนม อําเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่
- ตําบลศรีสุนทร อําเภอถลาง เฉพาะบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่สีม่วง หมายเลข 5.4 ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2554 และตํา บลวิชิต อํา เภอเมืองภูเก็ต เฉพาะบริเวณการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่สีม่วง หมายเลข 4 ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2554
อ้างอิง ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกํา หนดพื้นที่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2565. 7 11 65. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ 262 ง หน้า 18-19
กระบวนการแข่งขัน
- รอบคัดเลือก
คณะกรรมการผู้ตัดสินพิจารณาข้อมูลจากที่ผู้สมัครให้มาในระบบการสมัครทั้งหมด และจะให้ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ จํานวน 15 ทีม - รอบรองชนะเลิศ
15 ทีมที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับการจัดสรร “โค้ช” เพื่อเป็นพี่เลี้ยงช่วยให้คํา แนะนําในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ วางแผน และศึกษาความเป็นไปได้ในการที่ผลิตภัณฑ์จะถูกนําไปต่อยอดให้เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงและยั่งยืน รวมถึงช่วยผู้เข้าแข่งขันเตรียมตัวสําหรับการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศ นอกจากนี้คณะผู้จัดการแข่งขันจะมีกิจกรรมฝึกอบรมให้ผู้เข้าแข่งขันเป็นเวลา 2 วัน ได้พัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ และเป็นประโยชน์ต่อการแข่งขัน ในวันแข่งขันรอบรองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 15 ทีม จะต้องนําเสนอแผนธุรกิจต่อคณะผู้ตัดสิน และจะมีผู้ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจํานวน 5 ทีม - รอบชิงชนะเลิศ
รอบชิงชนะเลิศจะพิจารณาโมเดลธุรกิจในรายละเอียดที่เข้มข้นมากขึ้น ผู้ที่ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 5 ทีม คณะผู้จัดการแข่งขันจะจัดสรร “โค้ช” ให้แต่ละทีม เพื่อเป็นพี่เลี้ยงช่วยให้แนะนําการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดเป็นต้นแบบ (Prototype) และดูเพื่อให้แผนธุรกิจมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยผู้เข้าแข่งขันเตรียมตัวสํา หรับการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ รางวัลชนะเลิศจะมีเพียง 1 ทีม ส่วนอีก 4 ทีมจะได้รับรางวัลรองชนะเลิศ
รููปแบบการแข่งขัน
ผู้ร่วมแข่งขันจะต้องนําเสนอแบบจําลองธุรกิจที่มีรายละเอียดของความเป็นไปได้ในด้านการตลาด การเงินการลงทุน การผลิตที่มีประสิทธิภาพ และผลิตภัณฑ์หรือธุรกิจนั้นๆ เมื่อลงมือปฏิบัติจนเกิดเป็นรูปธรรมแล้ว มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการดูแลรักษาให้มีสภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีในพื้นที่ที่โรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ เพิ่มแหล่งรายได้เสริมให้แก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียงโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การดูแลประชาชน และการสร้างความสําเร็จให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรม
กำหนดระยะเวลา
- สมัครตั้งแต่วันนี้ – 31 มกราคม 2566
- ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 21 – 22 มกราคม 2566
- รอบคัดเลือก 6 กุมภาพันธ์ 2566
- ประกาศผู้เข้ารอบ 7 กุมภาพันธ์ 2566
- รอบรองชนะเลิศ 17 มีนาคม 2566
- รอบชิงชนะเลิศ 27 เมษายน 2566
หมายเหตุ วันและเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามเหมาะสม ส่วนสถานที่จะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
การสมัครเข้าแข่งขัน
ผู้สนใจสมัครเข้าแข่งขัน สามารถทําาการสมัครโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง
- กรอกใบสมัครแบบออนไลน์ (Google Form) โดยการสแกน QR Code แล้วทําตามขั้นตอนที่ระบุ
- กรอกใบสมัครแบบไม่ออนไลน์ เพียงดาวน์โหลดแบบฟอร์มจาก QR นี้
กรอบการพิจารณาผลการตัดสิน
- การดููแลรักษาให้มีสภาพสิ่่งแวดล้อมที่่ดีในพื้้นที่่ที่่โรงงานอุุตสาหกรรมตั้้งอยู่
- การดููแลรายได้ให้แก่ประชาชนที่่อยู่ใกล้เคียงโรงงานอุุตสาหกรรม
- การดูแลประชาชน
- การสร้างความสําเร็จให้กับภาคธุุรกิจอุุตสาหกรรม
รางวัลการประกวด
- รางวัลชนะเลิศ 1 รางวัล 500,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศ 4 รางวัล รางวัลละ 50,000 บาท
หมายเหตุ เงินรางวัลจะถูกหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ในอัตราร้อยละ 5
ติดต่อสอบถาม
- www.facebook.com/ploydaipasuk
- Line Application