มหาวิทยาลัยทักษิณ ขอเชิญนักเรียนมัธยมศึกษา และนักศึกษาปริญญาตรี-ปริญญาโท ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “TSU Inventor Award 2023” ชิงเงินรางวัล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษด้านการวิจัยและนวัตกรรมได้ใช้ศักยภาพในการสร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ ให้เกิดการพัฒนาต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ
  2. เพื่อพัฒนากลไกการเชื่อมโยงเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้นให้เข้าสู่เส้นทางอาชีพด้านการวิจัยและนวัตกรรมในภาคการผลิต บริการสังคม และชุมชน
  3. เพื่อให้นักเรียน นิสิต นักศึกษา ได้มีเวทีนําเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเผยแพร่สู่สาธารณชน เพื่อนําไปสู่การแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติ

ระดับการประกวด
แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย

  1. ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมต้นและมัธยมปลาย)
  2. ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท)

กลุ่มเรื่องการประกวด แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่

  1. ด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ หรือการ ออกแบบพัฒนาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในด้านทรัพยากรพืช ทรัพยากรสัตว์ ทรัพยากรประมง ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ําเพื่อการเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร ระบบเกษตร ทรัพยากรดิน ธุรกิจการเกษตร วิศวกรรมและ เครื่องจักรกลการเกษตร สิ่งแวดล้อมทางการเกษตร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีการเกษตร (Agri tech) เป็นต้น
  2. ด้านการสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบ พัฒนาและสร้างเพื่อส่งเสริมและมุ่งหมายในการป้องกันการเกิดโรค ดูแลรักษา และบําบัดโรค การตรวจสอบ และวินิจฉัยโรคการสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและประชากร เช่น ผลิตภัณฑ์สุขภาพ อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural Products) สมุนไพร เทคโนโลยี สุขภาพ (Health tech) เทคโนโลยีการแพทย์ (Medi tech) และสปา เป็นต้น และเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็น ผลิตภัณฑ์หรือการออกแบบพัฒนาเพื่อนํามาใช้ประโยชน์ในด้านการแปรรูป กระบวนการผลิตอาหาร การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาใช้อุปโภคบริโภคที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิตหรือใช้เพื่อสุขอนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีอาหาร (Food tech)เครื่องสําอาง อาหารสําเร็จรูป เครื่องปรุงรสอาหาร อาหารเสริม เป็นต้น
  3. ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ อุปกรณ์อัจฉริยะ เป็นการออกแบบและสร้างสิ่งประดิษฐ์ อุปกรณ์ทั้งเชิง Software และ Hardware ที่นํามาใช้ประโยชน์ในงานด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี อุตสาหกรรมทุกประเภท ทั้งที่ใช้ประโยชน์ได้ในปัจจุบันและอนาคต การปรับปรุงกระบวนการผลิต สภาวะแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ (Robo tech) เทคโนโลยีด้านการเงิน (Fintech) อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์ โดยไม่ต้องใช้คน (IOT) และเทคโนโลยีการศึกษา (Ed tech) เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นต้น
  4. ด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม และ BCG Economy Model เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ออกแบบ พัฒนาและสร้างเพื่อการแก้ไขและฟื้นฟู บํารุงรักษา ปรับปรุงคุณภาพและตรวจวิเคราะห์ทางสิ่งแวดล้อม การพัฒนาระบบพลังงานทางเลือก การตรวจวัด การอนุรักษ์พลังงาน และเทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น การกําจัดขยะ มลพิษทางอากาศ น้ําเน่าเสีย เซ็นเซอร์ทางสิ่งแวดล้อมและพลังงาน การผลิตพลังงาน จากธรรมชาติโซล่าเซลล์ พลังงานจากขยะ นวัตกรรมเพื่อการประหยัดพลังงาน และพลังงานรูปแบบใหม่ เป็นต้น
  5. ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความคิดสร้างสรรค์ มาออกแบบพัฒนาและสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อการดํารงชีวิตประจําวัน เช่น การออกแบบสถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ การออกแบบเครื่องแต่งกาย ออกแบบเครื่องประดับ สื่อมัลติมีเดีย สื่อการเรียนการสอนและสื่อการเรียนรู้ สําหรับทุกระดับการศึกษาและชุมชน การออกแบบศิลปะและงานประยุกต์ศิลป์อื่นๆ เทคโนโลยีการออกแบบ (Design tech) ธุรกิจไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Business) เทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Travel tech) รูปแบบ การท่องเที่ยว และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) เป็นต้น

คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าร่วมประกวด

  1. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน นิสิต/นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย
  2. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจะนําไปใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายในการนําไปใช้ จริง (หากผลงานประดิษฐ์คิดค้นมีผู้ใช้ประโยชน์ หรือผู้ใช้บริการที่ชัดเจน สามารถแนบหลักฐาน เพื่อประโยชน์ ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการฯ)
  3. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ หรือการปรับปรุง มีความปลอดภัย ความสะดวกในการใช้งาน ใช้วัสดุในการประดิษฐ์ที่เหมาะสมกับผลงานมีการนําองค์ความรู้จากการวิจัย หรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้หรือสนับสนุนการประดิษฐ์ ค้นคว้า
  4. ต้องไม่เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ลอกเลียนแบบมาจากผู้อื่น ทั้งนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เสนอ ผลงานที่เข้าร่วมประกวด
  5. ผลงานสิ่งประดิษฐ์หากเคยได้รับรางวัลจากการประกวดจาก วช. หรือ จากหน่วยงานอื่น ๆ มาก่อนแล้วจะต้องมีการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยระบุให้เห็นข้อแตกต่างที่ชัดเจน (การได้รับรางวัลหนึ่งรางวัลใดมาก่อน จะไม่มีผลต่อการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการฯ ซึ่งคณะกรรมการฯ จะพิจารณาจากการพัฒนาต่อยอดผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้ดีขึ้นเป็นสําคัญ)

ระยะเวลาในการดําเนินงาน

  • เปิดรับสมัครเสนอผลงานตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 15 กรกฏาคม 2566
  • ประกาศผลการพิจารณารอบคัดเลือกวันที่ 20 กรกฏาคม 2566
  • การพิจารณารอบตัดสิน ระหว่างวันที่ 17-19 สิงหาคม 2566 ในงาน TSU Innovation Fair 2023 นวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสังคม โดยผลงานที่ผ่านเกณฑ์ในรอบคัดเลือกจะต้องนําผลงานเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน “TSU Innovation Fair 2023” เพื่อนําเสนอผลงานต่อคณะกรรมการฯ ทั้งนี้ ผลงานใดที่ไม่สามารถเข้าร่วม กิจกรรมได้จะถือว่าสละสิทธิ์เข้าร่วมประกวด

เอกสารประกอบการเสนอผลงานเข้าร่วมประกวดฯ

  • แบบเสนอผลงานฯ ให้จัดพิมพ์รายละเอียดของผลงานให้เรียบร้อยตามความเหมาะสม ตามหัวข้อ ในแบบเสนอผลงานฯ ที่กําหนด และตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อผลงาน Save เป็นไฟล์ Word และ PDF
  • Infographic สรุปผลงานประดิษฐ์ จํานวน 1 หน้า ขนาด A4 โดยสรุป วิเคราะห์ เรียบเรียง ข้อมูลผลงานให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน มีความน่าสนใจ ออกแบบได้ตามความสวยงามและความเหมาะสม ประกอบด้วย
    • โลโก้หน่วยงาน
    • ชื่อผลงานที่ตรงตามแบบเสนอ
    • รูปภาพผลงานภาพสีที่ชัดเจน
    • เทคโนโลยีของผลงานที่ได้พัฒนาขึ้น
    • ประโยชน์ของผลงานประดิษฐ์
    • ชื่อหน่วยงาน + เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ + อีเมลที่ติดต่อได้ และ ตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อผลงาน Save เป็นไฟล์ JPG หรือ PNG

การพิจารณาตัดสินให้รางวัล

  • รอบคัดเลือก
    สถาบันวิจัยและพัฒนาโดยคณะกรรมการด้านวิชาการเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกจากเอกสารที่เสนอผลงานเข้าร่วมประกวด infographic
  • รอบตัดสิน
    สถาบันวิจัยและพัฒนาโดยคณะกรรมการประเมินผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “TSU Inventor Award 2023” พิจารณาผลงานที่ผ่านเกณฑ์ในรอบคัดเลือกโดยการพิจารณาผลงานจากชิ้นงานจริงตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กําหนด

หมายเหตุ ผลการตัดสินของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ ให้เป็นที่สุดจะอุทธรณ์มิได้ และหากพบหลักฐานในภายหลังว่าผลงานที่ได้รับรางวัลขาดคุณสมบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยทักษิณ อาจพิจารณาเพิกถอนผลการตัดสินและเรียกคืนรางวัล ที่รับไปแล้วทั้งหมด

หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัล

  • ความเป็นที่ต้องการ : เป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ช่วยแก้ไขปัญหาสําคัญหรือเป็นผลงาน ที่สอดคล้องกับความจําเป็นหรือความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่น หรือสาธารณะ
  • ความแปลกใหม่ : เป็นผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นที่พัฒนาขึ้นใหม่ หรือพัฒนารูปแบบวิธีการ ทํางานใหม่ให้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ผลงานมีความโดดเด่นน่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจาก สิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นในประเภทเดียวกัน
  • ความยากง่าย : โดยวัดจากระดับของการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับผลงานประดิษฐ์คิดค้น อย่างเดียวกัน หรือ ในวิทยาการเดียวกัน และพื้นความรู้ความสามารถของผู้ประดิษฐ์ในระดับเดียวกัน
  • ความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ : วัสดุที่ใช้เหมาะสม ประหยัด มีความคงทนแข็งแรง ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
  • การใช้ประโยชน์: เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในเชิงชุมชน/สังคม ภาคบริการ การผลิต อุตสาหกรรม หรือพาณิชย์ สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ตามที่กําหนดไว้ใน คุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์นั้น มีระบบการทํางาน ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง หรือสามารถ นําไปพัฒนาต่อเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ได้ด้วย และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะมีประโยชน์มากในอนาคต

รางวัลการประกวด
แบ่งการให้รางวัลออกเป็นแต่ละระดับและแต่ละกลุ่มเรื่อง ตามเกณฑ์คะแนน ของคณะกรรมการฯ ในแต่ละระดับและแต่ละกลุ่มเรื่อง โดยจะได้รับ ถ้วยรางวัลพร้อม เกียรติบัตร และเงินรางวัล

  • ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมต้นและมัธยมปลาย)
    • รางวัลชนะเลิศ 5,000 บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 4,000 บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 3,000 บาท
  • ระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีและปริญญาโท)
    • รางวัลชนะเลิศ 7,000 บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 6,000 บาท
    • รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 5,000 บาท

ติดต่อสอบถาม

  • กลุ่มภารกิจบริหารผลผลิต ทรัพย์สินทางปัญญา และถ่ายทอดนวัตกรรม สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • คุณพิมพ์ณดา มณีวงค์ และคุณสิทธิกร แซ่หล่อ โทร 0 7460 9600 ต่อ 7253,7247 (ในวันและเวลาราชการ)
  • E-mail : [email protected]
2023-06-15

Written by:

X