ไทยพีบีเอส ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย ขอเชิญคุณครู และโรงเรียนระดับประถมศึกษา สมัครเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เรื่องภัยพิบัติศึกษาในโรงเรียน “DXC Creator and Innovation Contest” ตอน พิบัติภัยใกล้ตัว : โลกที่ไม่เหมือนเดิม ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ และโอกาสเผยแพร่ผลงานผ่านช่องทางการสื่อสารของไทยพีบีเอสสู่สาธารณะ

คุณสมบัติผู้สมัคร

  • ผู้สมัครแต่ละทีมจะต้องมีสมาชิกไม่เกิน 5 คน
  • ผู้สมัครสามารถส่งในนามชื่อทีม หรือชื่อโรงเรียนก็ได้ โดยจะต้องเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาเท่านั้น ทั้งนี้ พร้อมกับมีชื่อผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ลงนามรับรอง

ขั้นตอนการสมัครและส่งผลงาน

  • ส่งใบสมัคร (ต้องกรอกให้ครบถ้วน)
  • ส่งผลงานเป็น เอกสารผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ด้านภัยพิบัติในโรงเรียน
  • ในรูปแบบไฟล์ PDF พร้อมภาพประกอบ คลิป/สื่อ และรายละเอียดต่างๆ มาที่ e-mail : [email protected], [email protected] (หัวข้อ ประกวดนวัตกรรมการเรียนรู้ DXC พร้อมระบุชื่อทีม)

เงื่อนไขการส่งผลงาน
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ หรือผลงานที่ส่ง จะต้องไม่เป็นการลอกเลียนแบบผลงานจากผู้อื่น และถ้าเป็นการประยุกต์จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง

สำหรับคุณครู มีอะไรบ้างที่ต้องทำ

  • คุณครูร่วมทีมกันได้ แต่นักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต้องเป็นระดับประถมศึกษาทั้งห้อง
  • คุณครูต้องระบุเหตุผลชัดๆ สั้น-กระชับ ในการเลือก หรือ ชวนนักเรียนในห้องมาร่วมโหวต “ภัยพิบัติใกล้ตัว” ที่ต้องการเรียนรู้เพียงแค่ 1 หัวข้อ(สามารถเลือกได้ทั้ง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และภัยพิบัติจากสังคมเศรษฐกิจการเมือง)
  • คุณครูมีเวลาเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้นในการจัดการเรียนรู้ และทุกสัปดาห์ก็มีเวลา ไม่เกิน 3 ชั่วโมงในการพบกับนักเรียนแบบ on site (12 ชั่วโมง)
  • แผนเรียนด่วนแผนนี้ เรียกร้องให้คุณครูกำหนด “เป้าหมายปลายทาง” และความคาดหวังที่ต้องการเห็น หลัง 12 ชั่วโมงผ่านไป
  • คุณครูต้องช่วยคิดชื่อตอนเจ๋ง ๆ ตั้งแต่ EP.1 ถึง EP.4 เพื่อสื่อสารกับนักเรียน
  • แต่ละ EP. ต้องออกแบบเนื้อหา วิธีการ และสื่อที่จะใช้ ในการจัดการเรียนรู้ ที่คุณครูประเมินว่า มีชีวิตชีวา และเหมาะกับนักเรียนของตนแต่ละคน
  • คุณครูมีทางเลือกในการกำหนดวิธีการประเมินผลการเรียนรู้ในแต่ละ EP.และภาพรวมของแผน แต่หน่วยงานที่ทำงานด้านลดความเสี่ยงขององค์การสหประชาชาติ ระบุว่า ทักษะในการสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้มาต่อชุมชนท้องถิ่นและสาธารณะ เป็นสิ่งที่จะเห็นได้ชัดว่า ผู้เรียนมีความเข้าใจและรู้ว่า การสื่อสาร เป็นเรื่องสำคัญ

กำหนดการ

  • 15 กันยายน – 15 พฤศจิกายน 66 เปิดรับสมัครและผลงาน
  • พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการคัดเลือกเหลือ 10 ทีม
  • พฤศจิกายน 2566 10 ทีม นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการผ่านระบบออนไลน์
  • ธันวาคม 2566 ประกาศผลและมอบรางวัล

รางวัลพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ

  • รางวัลชนะเลิศ : 20,000 บาท
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 : 15,000 บาท
  • รองชนะเลิศอันดับ 2 : 10,000 บาท
  • รางวัลชมเชย 2 รางวัล ๆ ละ 5,000 บาท

ติดต่อสอบถาม
ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ ไทยพีบีเอส

2023-09-25

Written by:

X